Tuesday, March 3, 2015
Tagged Under: thai news
เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งเป็นสถานที่วิจัยการโคลนนิงควายปลักไทย จากเซลล์ใบหูพญาควายปลักไทยของชาว จ.พิษณุโลก อายุประมาณ 5 ปี โดยนายสัตวแพทย์ ดร.มงคล เตชะกำพุ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมนักวิจัยจากศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกันเปิดตัว "โคลนทอง" ลูกควายโคลนนิ่ง (Cloning) จากเซลล์ใบหูพญาควายปลักไทยตัวแรกของไทยและโลก
ดร.มงคล เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้า "โคลนทอง" มีอายุ 3 ปี 4 เดือน น้ำหนัก 400 กิโลกรัม สามารถสืบพันธุ์ได้ตามปกติเหมือนควายทั่วไป โดยอาจใช้วิธีรีดน้ำเชื้อเก็บไว้เพื่อนำไปต่อยอดขยายพันธุ์ต่อไป อีกทั้งยังสามารถทำการรีโคลนนิ่ง (โคลนนิ่งจากควายที่เกิดมาจากการโคลนนิ่ง) จากเจ้า "โคลนทอง" ได้อีกด้วย แต่ติดอยู่ที่ขณะนี้รังไข่ของตัวเมียที่ค่อนข้างหายาก และแหล่งที่มาก็ได้จากโรงฆ่าสัตว์รอบกรุงเทพฯ นอกจากนี้ความสมบูรณ์ของถุงหุ้มไข่ที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ รวมถึงไข่อ่อนที่จะนำเซลล์ต้นแบบมาฝากไว้ ก็จะต้องมีลักษณะที่ดีจึงจะได้ลูกควายที่ตรงตามลักษณะตำราโบราณของพญาควายปลักไทย โดยลักษณะเด่นและดีตามตำราโบราณของพญาควายปลักไทยคือ หน้าดอกหน้าผากสีขาวเป็นรูปใบโพธิ์ ข้อเท้าด่าง คือข้อเท้าทั้งสี่ตั้งแต่ใต้เข่าลงไปจะเป็นสีขาวเหมือนกับใส่ถุงน่อง ส่วนปากคาบแก้วหรือปากด่างจะมีสีขาวนับตั้งแต่เหนือจมูกลงไป และมีเท้าขุนนาง หางดอกสีขาวและแบน
"นักวิจัยใช้เวลากว่า 10 ปี ถึงจะทำสำเร็จ โดยพัฒนาเซลล์ต้นแบบในหลอดทดลอง และนำเซลล์ดังกล่าวมาฝากไว้ในเซลล์ไข่อ่อนควายที่สมบูรณ์ที่สุดด้วยการกระตุ้นโดยระบบไฟฟ้า หลังจากนั้นจึงเลี้ยงโคลนตัวอ่อนจนถึงระยะบลาสโตซีส แล้วนำไปฝากในมดลูกของแม่ควายปลัก เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 53 รวมระยะเวลาตั้งท้อง 326 วัน" ดร.มงคล กล่าว
ด้านนายเกรียงศักดิ์ ทาศรีภู หัวหน้าทีมนักวิจัยฯ เปิดเผยว่า "โคลนทอง" เป็นควายตัวแรกของโลก ที่ได้รับการโคลนนิงจากเซลล์ใบหูพญาควายปลักไทย แต่เป็นตัวที่ 2 ของโลก ที่ได้จากการพัฒนาเซลล์ที่เจริญแล้ว ซึ่งควายตัวแรกอยู่ที่ประเทศอินเดีย สำหรับการโคลนนิ่งจะมีข้อเสียคือ อัตราการแท้งจะสูง จึงค่อนข้างยากที่จะได้ลูกควายที่มาจากการโคลนนิง ส่วนทำไมจึงต้องใช้เซลล์จากใบหูซึ่งแท้จริงแล้วเซลล์ของอวัยวะภายในก็สามารถใช้ได้เช่นกัน อาทิ ตับ ไต ฯลฯ แต่เหตุที่เลือกใช้เซลล์ใบหู เพราะเป็นอวัยวะภายนอกและง่ายต่อการปฏิบัติไม่ซับซ้อน เนื่องจากไม่ต้องใช้กระบวนการเก็บเซลล์ที่ยุ่งยาก
ที่มา,http://www.dailynews.co.th/
ปีทำสำเร็จแล้วพญาควายโคลนนิ่งตัวแรกของโลก
By:
news media
On: 3:48 AM
เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งเป็นสถานที่วิจัยการโคลนนิงควายปลักไทย จากเซลล์ใบหูพญาควายปลักไทยของชาว จ.พิษณุโลก อายุประมาณ 5 ปี โดยนายสัตวแพทย์ ดร.มงคล เตชะกำพุ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมนักวิจัยจากศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกันเปิดตัว "โคลนทอง" ลูกควายโคลนนิ่ง (Cloning) จากเซลล์ใบหูพญาควายปลักไทยตัวแรกของไทยและโลก
ดร.มงคล เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้า "โคลนทอง" มีอายุ 3 ปี 4 เดือน น้ำหนัก 400 กิโลกรัม สามารถสืบพันธุ์ได้ตามปกติเหมือนควายทั่วไป โดยอาจใช้วิธีรีดน้ำเชื้อเก็บไว้เพื่อนำไปต่อยอดขยายพันธุ์ต่อไป อีกทั้งยังสามารถทำการรีโคลนนิ่ง (โคลนนิ่งจากควายที่เกิดมาจากการโคลนนิ่ง) จากเจ้า "โคลนทอง" ได้อีกด้วย แต่ติดอยู่ที่ขณะนี้รังไข่ของตัวเมียที่ค่อนข้างหายาก และแหล่งที่มาก็ได้จากโรงฆ่าสัตว์รอบกรุงเทพฯ นอกจากนี้ความสมบูรณ์ของถุงหุ้มไข่ที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ รวมถึงไข่อ่อนที่จะนำเซลล์ต้นแบบมาฝากไว้ ก็จะต้องมีลักษณะที่ดีจึงจะได้ลูกควายที่ตรงตามลักษณะตำราโบราณของพญาควายปลักไทย โดยลักษณะเด่นและดีตามตำราโบราณของพญาควายปลักไทยคือ หน้าดอกหน้าผากสีขาวเป็นรูปใบโพธิ์ ข้อเท้าด่าง คือข้อเท้าทั้งสี่ตั้งแต่ใต้เข่าลงไปจะเป็นสีขาวเหมือนกับใส่ถุงน่อง ส่วนปากคาบแก้วหรือปากด่างจะมีสีขาวนับตั้งแต่เหนือจมูกลงไป และมีเท้าขุนนาง หางดอกสีขาวและแบน
"นักวิจัยใช้เวลากว่า 10 ปี ถึงจะทำสำเร็จ โดยพัฒนาเซลล์ต้นแบบในหลอดทดลอง และนำเซลล์ดังกล่าวมาฝากไว้ในเซลล์ไข่อ่อนควายที่สมบูรณ์ที่สุดด้วยการกระตุ้นโดยระบบไฟฟ้า หลังจากนั้นจึงเลี้ยงโคลนตัวอ่อนจนถึงระยะบลาสโตซีส แล้วนำไปฝากในมดลูกของแม่ควายปลัก เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 53 รวมระยะเวลาตั้งท้อง 326 วัน" ดร.มงคล กล่าว
ด้านนายเกรียงศักดิ์ ทาศรีภู หัวหน้าทีมนักวิจัยฯ เปิดเผยว่า "โคลนทอง" เป็นควายตัวแรกของโลก ที่ได้รับการโคลนนิงจากเซลล์ใบหูพญาควายปลักไทย แต่เป็นตัวที่ 2 ของโลก ที่ได้จากการพัฒนาเซลล์ที่เจริญแล้ว ซึ่งควายตัวแรกอยู่ที่ประเทศอินเดีย สำหรับการโคลนนิ่งจะมีข้อเสียคือ อัตราการแท้งจะสูง จึงค่อนข้างยากที่จะได้ลูกควายที่มาจากการโคลนนิง ส่วนทำไมจึงต้องใช้เซลล์จากใบหูซึ่งแท้จริงแล้วเซลล์ของอวัยวะภายในก็สามารถใช้ได้เช่นกัน อาทิ ตับ ไต ฯลฯ แต่เหตุที่เลือกใช้เซลล์ใบหู เพราะเป็นอวัยวะภายนอกและง่ายต่อการปฏิบัติไม่ซับซ้อน เนื่องจากไม่ต้องใช้กระบวนการเก็บเซลล์ที่ยุ่งยาก
ที่มา,http://www.dailynews.co.th/
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment