Wednesday, January 4, 2017

Tagged Under:

AJD ถูกดึงเข้าคำนวณดัชนี sSET Index

By: news media On: 5:59 PM
  • Share The Gag
  • AJD ถูกดึงเข้าคำนวณดัชนี sSET Index


    พระเอกตัวจริง AJD  สุดปลื้ม  ติดโผ 102 หลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายต่อเนื่อง ที่ถูกถึงเข้าคำนวณในดัชนี "sSET Index" (เอสเซ็ท) ด้าน  "อมร มีมะโน" เชื่อจะเพิ่มความน่าสนใจของหุ้นให้เพิ่มขึ้น พร้อมเดินหน้าบริหารงานตามแผนที่วางไว้ สร้างการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน


    ดร.อมร มีมะโน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คราวน์ เทค แอดวานซ์ จำกัด (มหาชน) (AJD) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ที่จะใช้คำนวณดัชนี "sSET Index" (เอสเซ็ท) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 (มกราคม-มิถุนายน2560) ซึ่งมีจำนวน 102 หลักทรัพย์ โดย AJD  เป็นหนึ่งในหลักทรัพย์ที่ถูกนำเข้าคำนวณในรอบนี้ว่า สะท้อนให้เห็นว่า AJD เป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายอย่างสม่ำเสมอ นักลงทุนจึงให้ความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนในหุ้นของบริษัทฯ

    "การที่หุ้น AJD ได้เข้าถูกเข้าคำนวณในดัชนี "sSET Index" (เอสเซ็ท) เป็นเรื่องที่ดี ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลบวกต่อบริษัททำให้นักลงทุนและสถาบันทั้งในและต่างประเทศต่างๆ อาจเพิ่มน้ำหนักลงทุนในหุ้นของเรา ซึ่งถือเป็น benchmark index หนึ่งสำหรับการลงทุนเพิ่มเติมจากดัชนีSET50 และ SET100 ที่มีอยู่ ขณะที่ในส่วนของการบริหารงาน เรายังคงเดินหน้าขยายแผนธุรกิจตามเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อสร้างรายได้และกำไรให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง สร้างผลตอบแทนที่ดีกับผู้ถือหุ้นต่อไป" ดร.อมร กล่าวในที่สุด

    สำหรับผลประกอบการงวด 9 เดือนปี 2559 บริษัทฯมีรายได้รวม 1,999.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 674.25 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50.86 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน 1,325.60 ล้านบาท ขณะที่มีผลกำไรสุทธิ 309.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 284.16 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 1,108.28 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีกำไรสุทธิ 25.64 ล้านบาท

    การคัดเลือกหุ้นที่ใช้คำนวณในดัชนี sSET พิจารณาจาก 1) ขนาดของหุ้น โดยคัดเลือกเฉพาะหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalization) ในช่วงที่กำหนดคืออยู่ในลำดับเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 90-98เมื่อเรียงลำดับหุ้นทั้งตลาดตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสะสมจากมากไปน้อย (90th-98th percentile ranked by cumulative market capitalization) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เทียบเคียงได้กับแนวทางของต่างประเทศ 2) ต้องมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (free-float) อย่างน้อย 20% และ 3) เป็นหุ้นที่มีการซื้อขายอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนหุ้นที่ซื้อขายในแต่ละเดือนต้องมีสัดส่วนอย่างน้อย 0.5%ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนของบริษัท เป็นระยะเวลาอย่างต่ำ 9 เดือนจาก 12เดือนในช่วงที่พิจารณาโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีการทบทวนรายชื่อทุก 6 เดือน

    ที่มา: banmuang

    0 comments:

    Post a Comment