ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมเดือนธ.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 62.5 จากเดือนพ.ย. ที่ 61.2
โดยปัจจัยบวกมาจากมาตรการกระตุ้นใช้จ่ายของภาครัฐในช่วงปลายปี และจากการส่งออกของไทยในเดือนพ.ย.ที่เพิ่มขึ้นกว่า 10.19% ขยายตัวสูงสุดในรอบ 9 เดือน ขณะที่ราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้นจากนโยบายในการดูแลของภาครัฐและจากการที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% และคงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ปี 2560 ไว้ที่ 3.2% ดัชนีหุ้นไทย หรือ SET Index ที่ปรับตัวขึ้นในเดือนธ.ค., ค่าเงินบาทที่อ่อนลงเล็กน้อย
สำหรับปัจจัยลบมาจากระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวขึ้น ราคาพืชผลหลายชนิดยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ, ผู้บริโภคยังวิตกกังวลปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าที่สูง รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลลบต่อการส่งออกไทย
ทั้งนี้ ได้คาดการณ์ขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2560 จะขยายตัวอยู่ที่ราว 3.5-4% หรือเฉลี่ยที่ 3.6% ได้หากภาครัฐสามารถเบิกจ่ายงบกลางปีราว 2 แสนล้านบาทได้ในช่วงมี.ค.-เม.ย. 2560 และงบประมาณลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 9 แสนล้าน ได้ในช่วงเดือนก.ค. 2560 ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมได้
พร้อมคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 1/60 และขยายตัวราว 3.2-3.3% จากการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว และการท่องเที่ยวที่เริ่มคึกคักขึ้นจากนักท่องเที่ยวตะวันออกกลาง และสถานการณ์ทัวร์ศูนย์เหรียญ หรือปัญหาทัวร์จีนที่เริ่มคลี่คลายลง นอกจากนี้ราคาพืชผลทางการเกษตรและค่าแรงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการบริโภคภายในประเทศและเป็นแรงขับเคลื่อนไปยังไตรมาส 2/60 ให้ขยายตัวอย่างโดดเด่นที่ราว 3.3-3.7% ด้วย
“เราเริ่มเห็นผู้ส่งออกของไทยฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากปริมาณตู้ในการส่งออกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นน่าจะทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางกลับมาด้วย” นายธนวรรธน์ กล่าว
นอกจากนี้คาดว่าหากภาครัฐสามารถเบิกจ่ายงบกลางปีได้ตามเป้าหมาย ราคาสินค้าเกษตร และค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้น จะทำให้เงินเฟ้อพื้นฐานขยับอยู่ที่ราว 1-1.5% และเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ราว 1.5-2% ซึ่งจะทำให้เอกชนมองว่าราคาสินค้าเริ่มสูงขึ้น และกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง และผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในช่วงกลางไตรมาส 3/60 กลับเข้าสู่ภาวะปกติได้
ทั้งนี้ มองว่าความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในปี 2560ยังมาจากนโยบายของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ และการออกจากสมาชิกกลุ่มยูโร หรือ Brexit อย่างเป็นทางการของอังกฤษ ว่ากระทบต่อการค้าโลกหรือไม่รวมถึงการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐว่าจะสามารถผลักดันงบกลางปีออกมาได้ตามเป้าหมายหรือไม่
“เศรษฐกิจปีหน้าจะไม่มีปัญหาเพราะการส่งออกเริ่มกลับมาฟื้น แต่ต้องจับตาดูนโยบายของทรัมป์ และการเจรจา Brexit ด้วยว่าผลจะออกมาช็อกโลกหรือไม่ นอกจากนี้การเบิกจ่ายงบกลางปีถ้าไม่ออกมาในช่วงมี.ค.-เม.ย. ก็จะทำให้เกิดสุญญากาศ” นายธนวรรธน์ กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา: naewna
0 comments:
Post a Comment