“ยอมรับว่าตัวเลข 2.2% นั้นค่อนข้างต่ำเกินไป ซึ่งคงมีการทบทวนเป้าหมายการส่งออกใหม่แน่นอน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด เพื่อนำไปพิจารณา โดยการประกาศตัวเลขของ ธปท.จะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้” นายดอน กล่าว
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ธปท.เปิดเผยว่า ในปีนี้อาจเห็นบางช่วงอัตราเงินเฟ้ออาจอยู่ในระดับต่ำชั่วคราว เนื่องจากปัจจัยด้านอุปทาน โดยเฉพาะราคาอาหารสดที่ลดลง ขณะที่ภาคธนาคารยังอยู่ในเกณฑ์ดีมีกำไรมั่นคง และมีการระดมทุนสูง แม้การขยายตัวของสินเชื่อยังอยู่ระดับปานกลาง ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดยเอสเอ็มอีขนาดเล็ก เป็นกลุ่มที่น่ากังวลใจคือ ที่ปัจจุบันพบว่า ยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันที่อ่อนแอ
ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัวดี จากรายได้เกษตรและความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ การบริโภคยังถูกจำกัด ด้วยหนี้สินที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 80% ของจีดีพี นอกจากนี้ จากการทำข้อมูลช่วง 7 ปีที่ผ่านมา พบว่า คนไทยเริ่มมีหนี้สินสะสมตั้งแต่อายุยังน้อย และมีจำนวนมากขึ้น
อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามในปีนี้ เป็นปัจจัยถึงความไม่แน่นอนการเมือง โดยเฉพาะความตึงเครียดในตะวันออกกลางและคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งแม้จะมีความเป็นไปได้ต่ำ แต่อาจก่อให้เกิดผลร้ายทั่วทั้งตลาด และนโยบายระดับโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น และคาดเดาได้ยาก โดยเฉพาะนโยบายด้านการค้าและเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนของสหรัฐฯ ส่งผลให้การตัดสินใจด้านการค้า และการลงทุน การผลิตตกต่ำทั่วโลก
นอกจากนี้ การปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนิรโทษกรรมภาษีสำหรับ บริษัทขนาดใหญ่อาจส่งผลให้เกิดเงินไหลออกจากภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากผลกำไรของสหรัฐฯในต่างประเทศจะถูกส่งกลับ เพื่อให้ได้ภาษีเงินได้
ที่ต่ำกว่าเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกัน การกำหนดจังหวะเวลาที่มีกรอบชัดเจนของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการปรับงบดุล ยังส่งผลกระทบต่อเงินดอลลาร์ และส่งผลต่อการค้า การเติบโตของเศรษฐกิจโลก รวมถึงไทยด้วย
นายวิรไทกล่าวว่า ธปท. ยังมีนโยบายด้านอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ในกรณีจำเป็น เช่น มาตรการจัดการความเสี่ยงด้านเงินทุนและกระแสเงินสด ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธปท. มองว่า ยังอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และสามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ ขณะเดียวกันธปท.ยังพยายามส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นโดยตรงกับภูมิภาค เพื่อลดความผันผวนของสกุลเงินดอลลาร์
ที่มา: naewna
0 comments:
Post a Comment