แต่เมื่อถึงช่วงเปิดเทอมใหม่ มักมีกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมอีก เพียงแต่เปลี่ยนสถาบันการศึกษา หรืออาจเปลี่ยนรูปแบบ
การใช้กำลังหรือความรุนแรงอาจลดลง แต่ที่ยังเหมือนเดิมคือการบังคับให้รุ่นน้องทำตามความ ต้องการของรุ่นพี่ที่มีกลุ่มคณะจัดกิจกรรมขึ้น
ทั้งทำให้เกิดการรับรู้ว่าหากรุ่นน้องไม่ทำตาม อาจจะไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่รุ่นพี่ สังคมของคณะ และในรั้วมหาวิทยาลัย
การข่มขู่บังคับ หรือสร้างบรรยากาศความมีอิทธิพลเหนือกว่าในสังคมนั้น ไม่ได้เกิดเฉพาะเรื่องรับน้องเท่านั้น
ยังรวมไปถึงครอบครัวที่ส่วนใหญ่ฝ่ายชายใช้กำลังต่อฝ่ายหญิงหรือต่อเด็ก ด้วยความรู้สึกเป็นใหญ่ หรือเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ ตามที่เกิดคดีความรุนแรงบ่อยครั้ง
นอกจากนี้ยังมีในกลุ่มบริษัท ธนาคาร ห้างร้านที่อ้างกิจกรรมทีมบิลดิ้ง บังคับให้พนักงานปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนความสมัครใจ
เป็นการบังคับให้เข้าร่วมสังคมที่พนักงานต้องกลัวเกรงว่าจะมีผลต่อตำแหน่งหน้าที่หรือการเลื่อนขั้นเงินเดือน
คําถามว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้ทัศนคติรุ่นน้องหรือผู้น้อยต้องเคารพรุ่นพี่หรือผู้ใหญ่โดยไม่มีเงื่อนไข ไม่มีคำถาม ปรับให้เบาบางลง และเปลี่ยนไปเป็นการเคารพนับถือเหตุผล เสรีภาพทางความคิด เสรีภาพในการเลือกหรือตัดสินใจได้เอง
เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ครอบครัว สถาบันการศึกษา สถานที่ราชการ บริษัทเอกชน ต้องร่วมกันคิด
เริ่มจากพื้นฐานเคารพความเท่าเทียมซึ่งกันและกัน ไม่ใช้ความเป็นผู้ใหญ่บังคับ กดขี่ผู้มีอายุน้อยกว่า ผู้มีกำลังน้อยกว่า หรือผู้มีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำกว่า
ความอ่อนน้อมเป็นคุณสมบัติที่มักได้รับคำชื่นชมในสังคมไทย แต่ความอ่อนน้อมแตกต่างจากการยอมจำนนเพื่อให้มีที่ยืนในสังคม
ที่มา: khaosod
0 comments:
Post a Comment