Saturday, August 20, 2016

Tagged Under:

เมียนมาพัฒนาการค้า ใช้โมเดลเอดีบีผนึกรัฐเอกชนดันนำเข้า-ส่งออก

By: news media On: 9:19 PM
  • Share The Gag
  • หน่วยงานภาครัฐเมียนมาตกลงจับมือกับภาคเอกชนและผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่ธุรกิจของการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกันพัฒนาการนำเข้าและส่งออก ใช้โมเดลและความช่วยเหลือจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เผยมีการจัดประชุมแก้ปัญหาทุกเดือน

    หนังสือพิมพ์เมียนมาอีเลฟเว่น รายงานว่าโมเดลที่เอดีบี นำมาพัฒนาระบบการค้าระหว่างประเทศของเมียนมาคือ International Trade Supply Chain Working Group ซึ่งเป็นกลุ่มทำงานที่จะมีตัวแทนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา เข้าร่วมประชุมเป็นประจำทุกเดือน เพื่อหาทางแก้ปัญหาให้กับทุกฝ่ายเพื่อให้มีการพัฒนาระบบการนำเข้า-ส่งออก ที่ดียิ่งขึ้น

    หม่อง หม่อง เลย์ (Maung Maung Lay)  รองประธานสหภาพสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา
    หม่อง หม่อง เลย์ (Maung Maung Lay)
    รองประธานสหภาพสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา
    นายหม่อง หม่อง เลย์ (Maung Maung Lay) รองประธานสหภาพสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา กล่าวว่า กลุ่มทำงานนี้จะเป็นกลุ่มหลักในการแก้ปัญหาระดับประเทศ เป็นกลุ่มที่จะช่วยเพิ่ม ความตื่นตัวในการตรวจสอบว่าระบบการนำเข้า ส่งออกสินค้าและระบบการขนส่งสินค้าในความเป็นจริงทำงานอย่างไร และจะมีทางแก้ปัญหาความซ้ำซ้อน คอขวดและความล่าช้าในระบบได้อย่างไร


    นายคริส เพจ หัวโครงการคณะทำงานฯ จากเอดีบี ให้สัมภาษณ์ เมียนมาอีเลฟเว่นหลังการเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการที่เมืองย่างกุ้งเมื่อเร็วๆ นี้ว่า โครงการนี้จะช่วยเพิ่มกำไรให้แก่นักลงทุนและทำให้ผู้บริโภคเมียนมาได้สินค้าในราคาที่ถูกลง


    นายเพจ กล่าวว่า “แนวคิดของโครงการนี้คือ การเปิดเวทีให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา มีโอกาสได้มาพบปะกันที่หอการค้า และพูดคุยกันว่าพวกเขาจะร่วมกันแก้ปัญหาได้อย่างไร และจะให้ภาครัฐหรือฝ่ายอื่นอาทิธนาคารช่วยเหลือสนับสนุนอย่างไร”

    นายเพจ ระบุว่า โครงการนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากเอดีบี 1.5 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 54 ล้านบาท) และได้รับความสนใจอย่างมากจากภาคเอกชน โดยคาดว่ากลุ่มทำงานคณะนี้จะต้องประชุมกับหน่วยงานราชการในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าเพื่อหาวิธีแก้ความล่าช้าในระบบราชการ

    นายเลย์ ให้สัมภาษณ์เมียนมาอีเลฟเว่นว่า คณะทำงานชุดนี้จะทำให้ภาคธุรกิจสามารถขนส่งสินค้าเข้าและออกประเทศได้ง่ายขึ้นและช่วยให้นักลงทุนระหว่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยคณะทำงานชุดนี้จะมีหอการค้าเป็นเจ้าภาพทำงานร่วมกับผู้บริหารระบบที่ดูแลการนำเข้าส่งออกและการขนส่งสินค้าในประเทศรวม 22 ระบบ

    “คณะทำงานจะจัดการประชุมทุกเดือนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการค้า รวมทั้งผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานนานาชาติ ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทนขนส่งสินค้า ชิปปิ้ง หน่วยงานรัฐ อาทิ กรมศุลกากร หน่วยงานกระทรวงพาณิชย์เพื่อระบุถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน”

    เมียนมาอีเลฟเว่น รายงานว่าคณะทำงานฯ ได้เปิดประชุมครั้งแรกไปแล้วหลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการและ นอกจากเมืองย่างกุ้งแล้วจะมีการจัดการประชุมและสัมมนาครั้งต่อ ๆ ไปในเมืองใหญ่อื่นอาทิ ท่าขี้เหล็ก เมียวดีและมูเซ ซึ่งติดชายแดนจีน

    มีรายงานว่า ก่อนหน้านี้เอดีบี ได้จัดการฝึกอบรมบุคคลากรจากภาครัฐและเอกชน ให้มีความรู้ในงานการค้าระหว่างประเทศด้วยโดยให้การอบรมบุคลากรไปแล้วกว่า 500 คน

    ที่มา: thansettakij

    0 comments:

    Post a Comment