
“ยิ่งลักษณ์” จั่วลม 2 คำร้องสู้โกงจำนำข้าว
ยอมรับหนักใจเอกสาร 6 หมื่นแผ่นเอาผิด
ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ วันที่ 31 ส.ค.58 นายวีระพล ตั้งสุวรรณ รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวนคดีโครงการรับจำนำข้าว พร้อมองค์คณะฯ รวม 9 คน นัดตรวจพยานหลักฐาน คดีหมายเลขดำ อม.22/2558 ที่นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ส่งผลให้รัฐได้รับความเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ทนายความจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว เนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาฯ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 ขณะที่โจทก์ได้คัดค้าน
องค์คณะฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9 (1) ที่บัญญัติ ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่มีมูลแห่งคดี แม้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 จะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 24/2557 ก็ยังให้ พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาฯ มีผลใช้บังคับต่อไป เมื่อคดีนี้ โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยเกี่ยวกับความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่และขอให้ลงโทษทางอาญา ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ไม่มีกรณีใดเลยที่ให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณา ดังนั้นกรณีที่จำเลยยื่นคำร้อง จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ จึงไม่มีเหตุที่จะรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว ให้ยกคำร้อง
ส่ว
นที่ทนายความจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านพยานบุคคล 23 ปาก และพยานเอกสารของโจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์เพิ่มเติมพยานโดยไม่สุจริต มุ่งเอาเปรียบจำเลยโดยไม่เป็นธรรม เพราะเป็นพยานหลักฐานที่ไม่มีการไต่สวนมาก่อน จึงขอให้ศาลไม่รับบัญชีพยานเข้าสู่สำนวนนั้น องค์คณะฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาฯ ให้ศาลยึดรายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นหลักในการพิจารณาคดี แต่ก็ให้อำนาจศาลไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร โดยศาลมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคล หรือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ และจำเลยก็มีสิทธิ์นำพยานเข้าไต่สวนเพื่อหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้อยู่แล้ว กรณีนี้จึงไม่มีเหตุที่จะไม่รับบัญชีพยานของโจทก์ตามที่จำเลยคัดค้าน ให้ยกคำร้องดังกล่าว
ทั้งนี้ในการตรวจพยานหลักฐาน ฝ่ายโจทก์ได้ส่งพยานเอกสารจำนวน 160 แฟ้ม ขณะที่ฝ่ายจำเลยส่งพยานเอกสาร 61 แฟ้ม องค์คณะฯ เห็นว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างพยานบุคคลหลายปาก และพยานเอกสารมีจำนวนมาก ดังนั้น จึงให้คู่ความทั่งสองฝ่ายร่วมกันตรวจพยานหลักฐานต่อไปทุกวันพุธเวลา 09.00 น.จนกว่าจะแล้วเสร็จ โดยนัดพร้อมคู่ความเพื่อฟังคำสั่งในวันที่ 29 ต.ค.นี้ เวลา 09.30 น.
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการตรวจพยานว่า เหลือเวลาอีก 2 เดือน ขณะที่ฝ่ายอัยการมีพยานเอกสารกว่า 60,000 แผ่นและพยานบุคคลที่เพิ่มเติมอีก 23 ปาก เวลาอาจไม่เพียงพอต่อการตรวจดูเอกสารทั้งหมด และเป็นพยานเอกสารที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จึงถือเป็นการบ้านที่ทนายความต้องทำงานหนัก อย่างไรก็ตามมั่นใจในพยานหลักฐานที่จะนำเสนอศาล โดยตนมีพยานบุคคลซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถกว่า 70 ปากจะสามารถให้ข้อมูลกับศาลได้
ที่มา ,banmuang.co.th
0 comments:
Post a Comment