Tuesday, June 7, 2016

Tagged Under:

ภัยแล้ง/หนี้ท่วม/งบอืด

By: news media On: 7:32 PM
  • Share The Gag
  • ภัยแล้ง/หนี้ท่วม/งบอืด
      ปัจจัยลบรุมกระหน่ำเศรษฐกิจไทยรุนแรงกว่าที่คาด ทั้งความเปราะบาง ของเศรษฐกิจโลกฉุดส่งออก ปัญหาภัยแล้ง แบงก์ชาติ หนี้ครัวเรือน กดการบริโภคภายใน ซ้ำการลงทุนภาครัฐก็ยังเบิกจ่ายได้ล่าช้า แบงก์ชาติ แบงก์พาณิชย์ มองจีดีพีปี 59 โตไม่ถึง 3%

    หลังจากที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้หว่านเงินหลายแสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า แต่ดูเหมือนเศรษฐกิจยังไม่กระเตื้องอย่างที่คิด ล่าสุดได้สั่งให้กระทรวงการคลังไปศึกษามาตรการกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และผู้ใช้แรงงาน ว่าจะสามารถใส่เงินเข้าไปในระบบผ่านกลุ่มคนเหล่านี้ เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายในช่วง 3-4 เดือนข้างหน้า

    นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ในวันที่ 31 มีนาคมนี้ธปท.จะปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในปีนี้ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 3.5% หลังจากเห็นความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมาชะลอตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความผันผวนจากเศรษฐกิจต่างประเทศ ส่งผล กระทบต่อภาคการส่งออก ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้

    ส่วนกรณีที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้กระทรวงการคลังหามาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย เพื่อใช้ในอีก 3-4 เดือนข้างหน้านั้น มองว่าเป็นเรื่องที่ดี และสะท้อนว่ารัฐบาลเห็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งเฉยและเห็นสถานการณ์ภาย นอกน่ากังวล ประกอบกับการลงทุนขนาดใหญ่ช้ากว่าคาด ซึ่งมองว่าบทบาทนโยบายการคลังสำคัญ รวมทั้งดำเนินการให้สอดคล้องกับการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ขณะที่ยอมรับว่าการดำเนินนโยบายการเงินนั้นจะต้องใช้เวลา

    อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการดำเนินนโยบายการเงินจะต้องใช้เวลา และการจะใช้นโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ หากมองว่าเศรษฐกิจแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้นั้น เป็นข้อหนึ่งที่ได้สั่งการบ้านให้กับทีมงาน การเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จะต้องเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจ ซึ่งมาตรการรัฐบาล ทั้งสินเชื่อดอก-เบี้ยต่ำผ่านธนาคารออมสิน และการผ่อนปรนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถนำเงินสำรองที่มีไปลงทุน เพื่อให้เกิดการ หมุนเวียน กำลังหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

    ส่วนสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เป็นผลมาจากการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติระยะสั้น ซึ่งมาจากความผันผวนของตลาดการเงินโลก ขอให้ผู้ส่งออกและนำเข้าปิดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน แม้ว่าปัจจุบันเอกชนจะซื้อประกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่มีบางส่วนชะล่าใจ เพราะเชื่อว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียว โดย ธปท.จะดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้กระทบความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งขณะนี้ค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับกลาง เมื่อเทียบกับเงินสกุลประเทศคู่แข่งและในภูมิภาค ด้าน นายญนน์ โภคทรัพย์ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ธนาคาร

    ไทยพาณิชย์ กล่าวในงานสัมมนา SCB Investment Symposium Thailand Ahead ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2559 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ผู้บริโภคยังขาดความมั่นใจ ทำให้การใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 50% ในการขับเคลื่อนเศรษฐ-กิจไม่ขยายตัวมากนัก โดยมีอัตราเติบโตเพียง 1-2% เท่านั้น ส่งผลให้การเติบโตของจีดีพี ปีนี้ยังเติบโตในอัตราที่ต่ำ คือ 2.5% แม้จะมี แรงขับเคลื่อนมาจากการลงทุนโครงสร้าง พื้นฐานภาครัฐที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ ระบบ 66,800 ล้านบาท และภาคการท่อง-เที่ยวยังเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญก็ตาม

    โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีปัจจัยบวกมาจากด้านการท่องเที่ยว ด้านโลจิสติกส์ โรงแรมและการลงทุนของภาครัฐในการออกมาตรการต่างๆ มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจส่วนปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงกว่า 80% ภาคส่งออกยังคงติดลบกว่าที่หลายๆ ฝ่ายคาดการณ์ไว้ อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังไม่ชัดเจน ไม่มั่นใจ ไม่กล้าที่จะนำเงินออกมาใช้จ่ายมากนัก รวมไปถึงเศรษฐกิจหลายๆ ประเทศชะลอตัวลง และไม่ค่อยมีการลงทุน

    ดังนั้น เมื่อจีดีพีโตต่ำอัตราการขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังโตไม่มาก โดยสินเชื่อของธนาคารไทยพาณิชย์คาดว่าโต 4-6% มาจากสินเชื่อรายใหญ่ที่ขยายตัว 4-6% สินเชื่อขนาดกลางและขนาดย่อมขยายตัว3-6% ส่วนสินเชื่อรายย่อยขยายตัว 3-5% ขณะที่ธนาคารจะควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ให้ไม่เกิน 3% จากปีก่อนที่มีอยู่ 2.8%

    อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าสถาน-การณ์เศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบางและอ่อนไหวจากปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับลดลง การดำเนินนโยบายการเงินของกลุ่มประเทศมหาอำนาจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อความเชื่อมั่นของตลาด เช่นเมื่อต้นปีได้เกิดความผันผวนอย่างรุนแรงในตลาดเงินตลาดทุนโลกอันเป็นจากปัญหาเศรษฐกิจในจีน เป็นต้น ดังนั้นนักลงทุนจึงไม่ควรวางใจกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่แม้จะเห็นแนวโน้มที่ฟื้นตัวดีขึ้น โดยแนะนำให้ติดตามสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ ควรวางแผนธุรกิจโดยพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมอย่างรัดกุม รวมถึงการจัดการความเสี่ยงที่ไม่ควรละเลยเพื่อให้ธุรกิจสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    “ปัจจุบันตลาดโลกอ่อนไหวต่อข่าวและเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น ผู้ประกอบการทุกระดับ ตั้งแต่ ธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี รวมถึงนักลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนจะต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารและกระจายความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น เราเชื่อว่าปี 2559 จะเป็นอีกปีหนึ่งที่เศรษฐกิจโลกยังคงต้องเผชิญกับความผันผวน และประเทศไทยก็คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบได้เช่นกัน ดังนั้นหากเราสามารถก้าวผ่านความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นได้สำเร็จก็เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถเดินหน้าพัฒนาสู่การเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพและสามารถขยายขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก”

    ด้าน นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ธนาคารเตรียมปรับคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้ลงจากคาดการณ์เดิมเดือนพ.ย.2558 ที่คาดว่า จีดีพีของไทยจะเติบโตได้ราว 3.3% หลังเห็นความเสี่ยงขาลงค่อนข้างมาก จากตัวเลขเศรษฐกิจของธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเดือนม.ค.2559 ที่ออกมาไม่ค่อยดีนัก ทั้งตัวเลขของการส่งออกติดลบต่ำกว่าที่คาด โดยคาดว่าน่าจะปรับคาดการณ์ดังกล่าวได้ราวต้นเดือนเม.ย.นี้ และมีความเป็นไปได้ที่จีดีพีจะอยู่ระดับต่ำกว่า 3%

    ทั้งนี้ คาดเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวดีขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากจะมีโครงการลงทุนในหลายๆ ด้านของภาครัฐออกมามากขึ้น สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่จะตามมา ซึ่งการลงทุนภาคเอกชนจะเป็นจุดสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยคิดเป็น 18% ของจีดีพี และภาครัฐ 6% ของจีดีพี


    ที่มา:  siamturakij

    0 comments:

    Post a Comment